10 อาชีพยอดนิยมที่มีความเสี่ยงต่ออาการปวดเรื้อรัง

Last updated: 12 มี.ค. 2561  |  541 จำนวนผู้เข้าชม  | 

10 อาชีพยอดนิยมที่มีความเสี่ยงต่ออาการปวดเรื้อรัง

10 อาชีพยอดนิยมที่มีความเสี่ยงต่ออาการปวดเรื้อรัง

1.นักวิศวกร มีพฤติกรรมก้มๆ เงยๆ และใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เสี่ยงต่อการปวดกล้ามเนื้อบริเวณบ่า สะบัก ต้นคอ หัวไหล่ รวมไปถึงข้อมืออีกด้วย

2.ดีไซน์เนอร์ มีพฤติกรรมการขีดๆ เขียนๆ ออกแบบวาดรูปเป็นเวลานานๆ เสี่ยงต่อการปวดกล้ามเนื้อบริเวณบ่า สะบัก ต้นข้อ หัวไหล่ ข้อมือ และอาจจะมีอาการของนิ้วล็อคร่วมด้วยได้

3.แอร์โฮสเตส มีพฤติกรรมการทำงานที่ต้องยกของหนัก เอื้อมหยิบ-เก็บของบนที่สูง เข็นรถและเสิร์ฟอาหาร เป็นประจำ จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อบ่า สะบัก หัวไหล่ รวมไปถึงท่อนแขนได้อีกด้วย

4.เซลส์แมน มีพฤติกรรมการยกของของหนัก ขับรถเป็นเวลานาน ใช้คอมพิวเตอร์ คุยโทรศัพท์ ใช้สมาร์ทโฟนต่อเนื่องเป็นเวลานาน เสี่ยงต่อการปวดกล้ามเนื้อบริเวณบ่า สะบัก ต้นข้อ หัวไหล่ ข้อมือ และอาจจะมีอาการของนิ้วล็อคร่วมด้วยได้

5.นักคอมพิวเตอร์ มีพฤติกรรมก้มๆ เงยๆ ใช้เวลาอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เสี่ยงต่อการเป็นออฟฟิศซินโดรม ปวดกล้ามเนื้อบริเวณบ่า สะบัก ต้นคอ ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว อาจรวมไปถึงมึนศีรษะ อาเจียน ซึ่งเป็นอาการของไมเกรนอีกด้วย

6.นักบัญชี พฤติกรรมก้มๆ เงยๆ ใช้เวลาอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นเวลานานและใช้เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละวันกับตัวเลขเอกสารต่างๆ มากมาย จึงทำให้นักบัญชีมีความเสี่ยงต่อการปวดกล้ามเนื้อบริเวณบ่า สะบัก ต้นคอ ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว อาจรวมไปถึงอาเจียน ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการของไมเกรน

7.สถาปนิก มีพฤติกรรมการขีดๆ เขียนๆ ออกแบบ เขียนแบบแปลนเป็นเวลานาน เสี่ยงต่อการปวดกล้ามเนื้อบริเวณบ่า สะบัก ต้นคอ หัวไหล่ ข้อมือ มีอาการของนิ้วล็อค และชาที่แขนร่วมด้วยได้

8.โฟร์แมน มีพฤติกรรมก้มๆ เงยๆ อยู่กลางแดดเป็นเวลานานๆ เสี่ยงต่อการเป็นโรคกล้ามเนื้อคอ บ่าอักเสบ ตาพร่า มีโอกาสเสี่ยงเป็นไมเกรนได้

9.ทันตแพทย์ มีพฤติกรรมก้มๆ เงยๆ บิดตัว เอี้ยวตัว เกร็งข้อมือและนิ้วมือ ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ส่งผลทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคปวดบ่า ต้นคอ สะบัก หลัง รวมไปถึงอาจจะเป็นนิ้วล๊อคได้

10.ผู้บริหาร มีพฤติกรรมใช้งานคอมพิวเตอร์ ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ อีกทั้งมีความเครียดสูง มีผลทำให้กล้ามเนื้อต้นคอเกร็ง ส่งผลทำให้เลือดไปเลี้ยงศีรษะไม่เพียงพอ มึนศรีษะ ปวดขมับ ปวดกระบอกตา ตาพร่า นอนไม่หลับ จนส่งผลให้เป็นโรคปวดศีรษะเรื้อรังหรือไมเกรนได้

นอกจากการทำพฤติกรรมซ้ำๆ เดิมๆ เป็นประจำแล้ว ภาวะความเครียด การออกกำลังกายที่น้อยลง ยังส่งผลกระทบต่อปัญหาทางร่างกาย จิตใจ คุณภาพชีวิตและสุขภาพอีกด้วย ทางที่ดีควรดูแลตนเอง และหาวิธีป้องกันไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ

ข้อมูล :เพ็ญพิชชากร แสนคำ Clinical Director จากสถาบันปรับโครงสร้างร่างกายอริยะ จาก ไลฟ์เซ็นเตอร์
ภาพ :iStock

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้